8 พฤติกรรมสร้างหนี้ของคนไทย รู้ไว้ก่อนรับมือได้

10 March 2025

เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมปัญหาหนี้ครัวเรือนยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่แก้ไม่ตกในประเทศไทย ซึ่งจากรายงานธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อในปี 2566 พบว่า ประเทศไทยมีปัญหาหนี้สินครัวเรือน ซึ่งมีทั้งหนี้ส่วนบุคคลและหนี้สินบัตรเครดิต ที่อยู่ในสัดส่วนสูงมาก คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของยอดหนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมดเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ

เพราะฉะนั้น CCAP จะมาแชร์พฤติกรรมทางการเงินของคนไทยที่นำไปสู่ของการเป็นหนี้ พร้อมวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้คุณต้องติดกับดักปัญหาหนี้เรื้อรัง!

แม้ไม่มีใครอยากเป็นหนี้แต่การกู้ยืมเงินไม่ใช่เรื่องผิดเสมอไปเพราะหนี้สินสามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างโอกาสและต่อยอดในอนาคตได้ หากบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม

อย่างไรก็ตามการขาดความรู้ความเข้าใจและการบริหารที่ผิดพลาดอาจทำให้คุณติดอยู่ในกับดักหนี้สินโดยไม่รู้จบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาวนั่นเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์ดังกล่าว ลองมาทำความรู้จักกับ “8 ลักษณะพฤติกรรมที่คนไทยตกอยู่ในวงจรหนี้” เพื่อหาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า

  1. ก่อหนี้เร็วเกินไป – ในช่วงเริ่มต้นทำงาน (อายุ 25-29 ปี) กว่า 58% ของพนักงานกลายเป็นลูกหนี้ และ 25% ในกลุ่มนี้มีหนี้เสีย (NPL) โดยส่วนใหญ่เกิดจากบัตรเครดิต รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ การขาดการวางแผนการเงินที่ดีทำให้เสี่ยงกลายเป็นหนี้เสีย อีกทั้งกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 25 ปีก็เริ่มมีหนี้เพิ่มขึ้นด้วย
  2. ก่อหนี้เกินกำลัง – ลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเกือบ 30% มีหนี้มากกว่า 4 บัญชีต่อคน วงเงินรวมต่อคนอาจสูงถึง 10–25 เท่าของรายได้ เมื่อรายได้ถูกใช้จ่ายไปกับการชำระหนี้เป็นส่วนใหญ่ ก็แทบไม่มีเงินเหลือใช้ในชีวิตประจำวัน
  3. กู้เงินโดยขาดข้อมูลที่ถูกต้อง – ลูกหนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ศึกษาเงื่อนไขการกู้เงินอย่างรอบคอบ หรือได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ย หรือเงื่อนไขต่างๆของการชำระหนี้
  4. กู้เงินเพราะเหตุจำเป็น – มากกว่า 62% ของครัวเรือนไทยไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบกับรายได้ ทำให้หนี้ครัวเรือนมีจำนวนมากต้องพึ่งพาการกู้ยืมเงินทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ
  5. ติดหนี้ระยะยาว – หนี้บัตรเครดิตและหนี้ส่วนบุคคล สามารถผ่อนชำระขั้นต่ำได้ แต่การผ่อนชำระขั้นต่ำทำให้คนไทยกลายเป็นหนี้ระยะยาวนานมากขึ้น นอกจากนี้มากกว่า 1ใน4 ของคนอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ยังมีภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระอยู่โดยเฉลี่ย 415,000 บาท ต่อ คน โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้จากภาคการเกษตรที่พักชำระหนี้นั่นเอง
  6. สถานะหนี้เสีย – ประเทศไทยมีลูกหนี้ 10 ล้านบัญชีที่เป็นหนี้เสีย และเกือบครึ่งของจำนวนนี้ (4.5 ล้านบัญชี) เป็นหนี้เสียในช่วงของโรคระบาด COVID-19
  7. หนี้เรื้อรังที่ไม่มีวันจบ – เมื่อเป็นหนี้เสียจนสายเกินแก้แล้ว มักจะเกิดปัญหาการเป็นหนี้ไม่จบไม่สิ้น เกือบ 20% ของบัญชีหนี้เสียที่ถูกยื่นฟ้อง โดย 1 ใน 3 ของลูกหนี้ในคดีจะจบด้วยการยึดทรัพย์ขายทอดตลาด แต่ก็ยังปิดหนี้ไม่ได้
  8. พึ่งพาหนี้นอกระบบ – การเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ปัญหาหนี้หนักขึ้น คือการเป็นหนี้นอกระบบ โดย 42% ของกว่า 4,600 ครัวเรือนทั่วประเทศ ที่ขอความช่วยเหลือแก้หนี้ มีหนี้นอกระบบเฉลี่ยคนละ 54,300 บาท ซึ่งเกิดจากการที่มีรายได้ไม่แน่นอน ขาดความรู้เรื่องการเงิน ขาดหลักประกัน เลือกกู้นอกระบบเอง หรือขอสินเชื่อในระบบจนเต็มวงเงินแล้ว

หากคุณเผชิญปัญหาเหล่านี้ การจัดการหนี้อย่างถูกวิธีสามารถช่วยให้คุณหลุดพ้นจากวงจรหนี้และกลับมามีชีวิตที่มั่นคงได้!

การรวบหนี้ (Debt Consolidation) คือการรวมภาระหนี้หลายก้อนไว้ในที่เดียว เพื่อช่วยให้การชำระหนี้สะดวกขึ้น และลดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนน้อยลงโดยใช้รถยนต์หรือบ้านเป็นหลักค้ำประกันสำหรับการขอสินเชื่อกับธนาคารหรือสถาบันทางการเงินและนำที่ได้ไปปิดหนี้ก้อนอื่นได้ ซึ่งในระหว่างการชำระหนี้ คุณยังสามารถใช้รถยนต์หรือบ้านได้ตามปกติเหมือนเดิม

ตัวอย่าง นาย A มีรายได้เดือนละ 35,000 บาท มีหนี้ผ่อนชำระรวมขั้นต่ำจำนวน 27,700 บาท/เดือน โดยแบ่งหนี้เป็น 3 ก้อน ดังนี้

  1. หนี้บัตรเครดิต
    • ยอดหนี้รวม 45,000 บาท
    • ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก 16% ต่อปี
    • ผ่อนชำระเดือนละ 4,500 บาท
  2. หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล
    • ยอดหนี้รวม 32,000 บาท
    • ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก 22% ต่อปี
    • ผ่อนชำระเดือนละ 3,200 บาท
  3. หนี้รถยนต์
    • ยอดหนี้รวม 250,000 บาท
    • ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก 3.5% ต่อปี
    • ผ่อนชำระเดือนละ 20,000 บาท

ในกรณีนี้หากคุณใช้รถยนต์ ปี 2018 มาค้ำประกัน โดยขอวงเงินสูงสุดที่ 327,000 บาท (ขึ้นอยู่กับการประเมินของธนาคาร) ในอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4.05% หากคุณเลือกผ่อน 60 เดือน คุณจะเหลือภาระที่ต้องจ่ายต่อเดือนเพียง 7,013 บาท

นั่นหมายความว่า ภาระต่อเดือนลดลงถึง 20,687 บาท เลยทีเดียว! จ่ายน้อยลง และยังเกิดสภาพคล่องทางการเงินขึ้นได้มากสมควร

เพราะฉะนั้น แนวทางในการแก้ไขควรเริ่มจากการจัดทำแผนการเงินอย่างเป็นระบบ ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ให้หลีกเลี่ยงการก่อหนี้ใหม่โดยไม่จำเป็น และควรเพิ่มวินัยในการออมเงินอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งควรจัดลำดับความสำคัญของการชำระหนี้ เพื่อฟื้นฟูความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวอย่างยั่งยืนต่อไป หากคุณสนใจสอบถามรายละเอียดการขอสินเชื่อ

สามารถขอคำปรึกษาติดต่อ CCAP แอดไลน์มาได้เลย คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap , เบอร์โทร: 092-256-6801

สแกน QR Code เพื่อเพิ่มเพื่อน CCAP ได้เลย

Reference : https://www.ttbbank.com/th/fin-tips/detail/8habits-of-people-with-debt

© สงวนลิขสิทธิ์ 2565 เจริญสิน แคปปิตอล จำกัด
CALL CENTER  02 120 6624
phone-handset