สรุปประเด็นสำคัญจากงาน BOT Policy Briefing : เปิดแนวคิดนโยบายแบงก์ชาติ

06 December 2024

แนวคิดนโยบายแบงก์ชาติงาน BOT Policy Briefing

วันนี้ทางบริษัท เจริญสิน แคปปิตอล จำกัดได้ติดตามและสรุปเนื้อหาสาระสำคัญ จากการงาน BOT Policy Briefing : เปิดแนวคิดนโยบายแบงก์ชาติ มาให้ทุกคนที่สนใจ โดยสรุปจับแต่ใจความสำคัญมาให้

เนื่องด้วยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้รับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน และได้คำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง ในเรื่องเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เพื่อรักษาแนวโน้มนโยบายทางการเงินในระดับที่เหมาะสม

และการรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยที่สมควร ต้องไม่สูงและไม่ต่ำจนเกินไป โดยดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี แต่ ณ ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

ภายในงานยังมีการพูดถึงสาระสำคัญอีกมากมายเช่น

– เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะเรื่องการบริโภค จำนวนผู้มีงานทำ รายได้ลูกจ้างนอกภาคเกษตร ส่วนเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวต่ำ คือ เรื่องการส่งออกและการผลิต เนื่องจากปัญหาของเชิงโครงสร้าง เช่น เรื่องความสามารถการแข่งขันส่งออกลดลง และนโยบายจีนเน้นการผลิตภายในประเทศมากขึ้น

– อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ จากปัจจัยด้านอุปทานชั่วคราว โดยในระยะสั้นเงินเฟ้อติดลบไตรมาสแรก ปี 67 จากการต่ออายุมาตรการลดราคาของพลังงานภาครัฐ สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐานยังเป็นบวก เงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลาง-ยาวยังยึดเหนี่ยวในกรอบเป้าหมายที่ 1-3%

– เสถียรภาพระบบทางการเงินโดยรวมดี แต่ต้องติดตามปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะหนี้บ้านที่เป็นประเด็นในช่วงนี้

– ภาวะทางการเงินมีตึงตัวขึ้น แต่ไม่ตึงตัวจนมากเกินไป เนื่องจากการชำระคืนหนี้ของภาคธุรกิจ SMEs ช่วงโควิด และปัจจุบันโครงการสินเชื่อได้ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้กู้ไปโดยที่ตัวเลขมีมากก่อนช่วงโควิด

ซึ่งหากแนวโน้มเศรษฐกิจทางการเงินเปลี่ยนทิศทางตามเป้าหมาย คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พร้อมปรับดอกเบี้ยนโยบายให้เหมาะสม โดยพิจารณาหลายๆปัจจัยอื่นร่วมด้วย แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาในส่วนขแงนโยบายอื่นๆ ควบคู่ เช่น การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ แนวนโยบายด้านอุปทาน

และสำหรับการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ผ่านมาอาจมีผลกระทบต่อลูกหนี้ที่ยังไม่ฟื้นตัว ธนาคารแห่งประเทศไทยมีมาตรการดูแลลูกหนี้ เช่น ดูแลอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ไม่ให้ขึ้นรุนแรงและเร็วจนเกินไป (MRR) และมีการต่ออายุมาตราการสินเชื่อฟืเนฟูและสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตั้งเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ (มีผลวันที่ 1 ม.ค. 67) และช่วยลูกหนี้มีหนี้เรื้อรังให้ปิดหนี้เร็วขึ้น ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงไม่เกิน 15% ต่อปี (มีผล 1 เม.ย. 67)

เพราะฉะนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงให้ความสำคัญกับธนาคารพาณิชย์และประชาชน เพื่อให้บริการเป็นธรรม พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพทางการเงินให้ประชาชนได้ยกระดับชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว

อีกทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ดูแลธนาคารพาณิชย์ ให้แข็งแรงมั่นคง โดยการจัดสรรเงินทุนในระบบและช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทางการเงินอย่างรุนแรง

อีกทั้งในการบริหารต้นทุน-กำไรขึ้นอยู่กับ Business model ของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง และกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ปรับโครงสร้างเงินฝาก/สินเชื่อของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคคิดค่าธรรมเนียม/ดอกเบี้ยให้เหมาะสมอย่างเป็นธรรม

ในอนาคตธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมการแข่งขัน ซึ่งเปิดให้มี Virtual Bank นำเทคโนโลยีใหม่มาพัฒนาพร้อมทบทวนกฎในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของธนาคารพาณิชย์

และ Non-Bank ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงนโยบายการเปิดกว้างการใช้ประโยชน์ข้อมูลตามสิทธิของผู้ใช้บริการ หรือ SMEs ในการรเรียกใช้หรือส่งข้อมูลของตนที่มีอยู่กับผู้ให้บริการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล

ได้สะดวกและปลอดภัย เพื่อขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้นและช่วยเพิ่มโอกาสเข้าถึงเงินทุนอีกด้วย

Reference

https://www.bot.or.th/th/news-and-media/news/news-20240115.html

© สงวนลิขสิทธิ์ 2565 เจริญสิน แคปปิตอล จำกัด
CALL CENTER  02 120 6624
phone-handset