7 รายการค่าใช้จ่ายเตรียมเงินวางแผนก่อนซื้อรถ
การตัดสินใจซื้อรถยนต์ใหม่ เป็นความฝันของใครหลายๆคน เพราะเป็นสินทรัพท์ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน ให้การเดินทางเป็นเรื่องง่าย ให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
สามารถขับรถยนต์ไปในสถานที่ที่อยากไป แต่การซื้อรถยนต์คันใหม่นั้นมาพร้อมกับภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกพอสมควร และเราจะต้องวางแผนบริหารทางการเงินให้ดี คำนึงถึงงบที่เหมาะสม
โดยดูรายรับ-รายจ่ายต่อเดือน ว่าสามารถรับมือกับภาระที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้หรือไม่ ซึ่งตามหลักแล้วค่างวดในการผ่อนรถยนต์ที่เหมาะสมต่อเดือนไม่ควรเกินกว่า 20% ของรายได้ เพราะฉะนั้นแล้ว
การซื้อรถยนต์คันใหม่ไม่ใช่เพียงแค่ผ่อนค่างวดรถยนต์แล้วจบไปเท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้นที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมอยู่อีกมาก เรามาลองสต์กันว่าเรามีความพร้อมในการเตรียมค่าใช้จ่ายตามรายการนี้ได้หรือไม่
1.ค่าเงินดาวน์รถยนต์
โดยปกติแล้วการซื้อรถยนต์จะต้องมีการวางเงินดาวน์รถยนต์ส่วนแรกในการชำระ ซึ่งปกติการวางเงินดาวน์ใช้ประมาณ 20-40% ของราคารถยนต์ ถ้าหากเลือกดาวน์น้อยกว่า 20% ต้องมีคนค้ำประกัน
เพราะฉะนั้นหากยิ่งวางเงินดาวน์สูงมากเท่าไร สามารถผ่อนจ่ายค่างวดได้สบายขึ้น ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาผ่อนสั้นลงได้อีกด้วย
2.ค่าผ่อนรถยนต์
การผ่อนค่างวดต่อเดือน ขึ้นอยู่กับราคาของรถยนต์ที่ซื้อ อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงินดาวน์ที่วางดาวน์ในส่วนแรก และจำนวนผ่อนชำระต่องวดโดยเฉลี่ยแล้วจะผ่อนชำระรถยนต์ เดือนละประมาณ 5,000-15,000 บาท
3.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ หรือค่าแก๊ส
ปฏิเสธไม่ได้ว่าค่าน้ำมันเป็นค่าใช้จ่ายหลักในการขับขี่รถยนต์ ยิ่งในยุคปัจจุบันนี้ราคาน้ำมันต่อลิตรแพงขึ้นเรื่อยๆ โดยปกติแล้วถ้าหากใช้รถยนต์ขับไปทำงานทุกวัน จะเสียค่าน้ำมัน หรือค่าแก๊ส โดยประมาณ 4,000-10,000 บาท ต่อเดือน
ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งาน ประเภทรถยนต์ในการขับขี่ ระยะทาง และสภาพการจราจร ดังนั้น การจะซื้อรถยนต์จะต้องดูเรื่องของขนาดเครื่องยนต์ อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมัน และควรซื้อให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของแต่ละบุคคล
4.ค่าดูแลบำรุงรักษา ตรวจเช็กระยะ เช็กสภาพรถยนต์
รถยนต์เมื่อใช้งานได้สักระยะหนึ่ง ย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ทั้งแบบบำรุงรักษาตามระยะทางที่กำหนดครบ 10,000 กิโลเมตร หรือแบบครบกำหนดระยะเวลาปีละ 2 ครั้ง ทุกๆ 6 เดือน ขึ้นอยู่กับการใช้งานของรถยนต์
หรือบางค่ายรถยนต์ก็มีให้บริการค่าดูแลบำรุงรักษาฟรีช่วงของปีแรก ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ในช่วงเวลานั้น
5. ค่าภาษีรถ และ พ.ร.บ.รถยนต์
ค่าภาษีรถยนต์เป็นค่าใช้จ่ายที่บังคับต้องจ่ายทุกปีตามกฏหมาย โดยรถยนต์แต่ละประเภทมีค่าภาษีที่ต้องชำระแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับขนาด ประเภท กำลังของรถยนต์ รวมถึงอายุการใช้งาน โดยอัตราค่าภาษีในช่วง 1-5 ปีแรกจะคงที่
จนกระทั่งเข้าสู่ปีที่ 6 ขึ้นไป ภาษีจะลดลง 10% และจะลดถึง 50% เมื่อผ่านการใช้งานมาแล้ว 10 ปี อีกเรื่องที่สำคัญคือรถยนต์เมื่อใช้งานมาแล้ว 7 ปีขึ้นไป จะต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) จึงจะสามารถต่อภาษีได้
ซึ่งเจ้าของรถยนต์ต้องระวังอย่าให้ขาดการจ่ายภาษี เพื่อป้องกันการเสียค่าปรับ ส่วนค่าใช้จ่ายพ.ร.บ.รถยนต์นั้น เป็นประกันภัยบังคับที่ต้องมีและคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้ขับขี่เท่านั้น ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้ต้องชำระทุกปี และมีราคาแตกต่างกันไป
ตามประเภทของรถยนต์ หากรถยนต์ไม่ทำพ.ร.บ. จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย
6.ค่าประกันภัยรถยนต์
สำหรับผู้ใช้รถยนต์ควรเลือกทำประกันภัยรถยนต์ เนื่องจากเป็นช่วยลดความเสี่ยง เรื่องอุบัติเหตุความเสียหายที่คาดไม่คิด โดยเฉพาะผู้ที่ซื้อรถคันแรก การมีประกันไว้ทำให้ผู้ขับขี่มีความอุ่นใจเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
บริษัทประกันภัยจะเข้ามาช่วยได้ ถึงแม้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายต่อปีที่มีราคาสูง แต่ก็เป็นก็ถือว่าคุ้มค่า หากเกิดอุบัติเหตุเสียหายอย่างหนัก ค่าใช้จ่ายตรงนี้บริษัทประกันภัยจะช่วยทั้งในเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์
รวมถึงรถยนต์ของคู่กรณีด้วย ขึ้นอยู่กับการเลือกซื้อประเภทประกันภัยตามข้อตกลงที่ทำไว้
7. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มเติม นั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถเลือกจ่ายได้ เช่น ค่าอุปกรณ์เสริมตกแต่งรถยนต์ ค่าบริการล้างรถทำความสะอาดในคาร์แคร์ ค่าจอดรถสำหรับผู้พักอาศัยคอนโด ห้องพักให้เช่า อพาร์ตเมนต์
ที่ต้องเสียค่าส่วนกลางเพิ่ม ค่าทางด่วนที่ไม่ต้องการฝ่ารถติด ค่าเปลี่ยนยางรถยนต์ และยังมีค่าใช้จ่ายอื่นที่เราอาจจะไม่คาดคิด เช่น ค่าปรับกรณีทำผิดกฎจราจร ค่าเรียกรถลากฉุกเฉิน ค่าซ่อมด่วน ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
ของเจ้าของรถยนต์แต่ละบุคคล สามารถปรับเปลี่ยนควบคุมได้ตามความจำเป็น
ตัวอย่าง เมื่อคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ย/เดือน ในซื้อรถยนต์ 1 คัน เช่น
หากต้องการซื้อรถยนต์ยี่ห้อ HONDA รุ่น CITY 1.0 Turbo RS CVT ซึ่งปัจจุบันตอนนี้ราคาอยู่ที่ประมาณ 749,000 บาท (คิดเป็นเลขกลมๆ ก็ 740,000 บาทถ้วน)
วางเงินดาวน์ 30% ของราคารถ = 222,000 บาท เหลือยอดจัดที่ต้องผ่อนชำระ = 740,000 – 222,000 = 518,000 บาท
เลือกผ่อนชำระ 48 เดือน (4 ปี) อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี จะมีวิธีคำนวณดังนี้ อัตราดอกเบี้ย x จำนวนเงินยอดจัด = 518,000 x 5% = 25,900 บาทต่อปี รวม 4 ปีจะต้องจ่ายดอกเบี้ยทั้งหมด = 103,600 บาท
ยอดเงินรวมที่จะต้องจ่าย (จำนวนเงินยอดจัด + ดอกเบี้ยทั้งหมด) = 518,000 + 103,600 = 621,600 บาท คิดเป็นค่างวดรายเดือน = 588,000 ÷ 48 = 12,950 บาท
ดังนั้น ถ้าเราต้องการซื้อรถยนต์ HONDA รุ่น CITY 1.0 Turbo RS CVT โดยเลือกวางเงินดาวน์ 30% ผ่อนชำระ 48 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5% จะต้องจ่ายค่างวดเดือนละ 12,950 บาท ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ในรายการลิสต์ด้านบน โดยประมาณการค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ ได้แก่
ค่าน้ำมัน เดือนละ 4,000-10,000 บาท
ค่าดูแลบำรุงรักษา ตรวจเช็กระยะ (ปีละ 6,000-7,200 บาท) เดือนละ 500-600 บาท
ค่าพ.ร.บ./ภาษีรถยนต์/ประกันภัย (ปีละ 14,400-24,000 บาท) เดือนละ 1,200-2,000 บาท
ค่าที่จอดรถ เดือนละ 1,000-2,000 บาท
ค่าทางด่วน ถ้าขึ้นทุกวันก็ขั้นต่ำ เดือนละ 1,500 บาท
เพราะฉะนั้นค่าอุปกรณ์เสริมตกแต่งรถยนต์ ค่าล้างรถ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของรถยนต์เองสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้
ดังนั้น สรุปแล้วว่านอกจากเงินดาวน์ 222,000 บาทในวันแรก และเงินสำหรับจ่ายค่างวดรถ เดือนละ 12,950 บาทแล้ว เรายังต้องเตรียมพร้อมสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับรถยนต์ อย่างน้อยเดือนละ 8,200-16,100 บาทด้วย
รวมค่าใช้จ่ายต่อเดือนของการใช้รถยนต์ Honda รุ่น CITY 1.0 Turbo RS CVT รถ 1 คัน อยู่ที่ เดือนละ 21,150-29,050 บาท
การซื้อรถยนต์สักคันหนึ่งนั้น มีค่าใช้จ่ายอีกมากมายเกินกว่าที่เราคิดไว้ในตอนแรก ดังนั้น การวางแผนบริหารทางการเงินล่วงหน้าอย่างรอบคอบ เพื่อให้เราสามารถควบคุมบริหารค่าใช้จ่ายได้ในแบบผ่อนสบาย
ไม่สะดุดระหว่างทางในระยะยาวจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการมีประกันภัยรถยนต์ดีๆ ที่จะช่วยให้เราขับขี่รถยนต์สุดรักได้อย่างปลอดภัยสบายใจ หากใครที่กำลังมองหารถยนต์ CCAP ขอเสนอให้ลองคำนวณค่าใช้จ่าย
ประเมินความสามารถในการผ่อนชำระเงินก่อนตัดสินใจซื้อ หากสนใจสอบถามสามารถติดต่อ CCAP ให้บริการสินเชื่อซื้อรถยนต์ บริการประทับใจ แอดไลน์มาได้เลยที่ CCAP
คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap , เบอร์โทร: 092-256-6801
Reference
https://www.ttbbank.com/th/fin-tips/detail/10things-know-before-getting-out-of-car