ข้อควรรู้การขอสินเชื่อรถแลกเงิน แบบโอนเล่มกับไม่โอนเล่ม แตกต่างอย่างไร
ทราบไหมว่าในการขอสินเชื่อรถแลกเงิน สามารถเพิ่มโอกาสในการลงทุน เพื่อรับเงินก้อนโตมาใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ ที่สามารถใช้เล่มทะเบียนรถยนต์ รถกระบะ หรือรถจักรยานยนต์ มาเป็นหลักประกัน
ซึ่งผู้ให้บริการสินเชื่อได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้ผู้ที่สนใจเงินทุนหมุนเวียนเพื่อนำเงินก้อนไปเสริมสภาพคล่องในการลงทุน ต่อยอดทำธุรกิจ หรือมีเหตุจำเป็นเรื่องอื่นๆ เพียงแค่มีเล่มทะเบียนรถ
เพราะฉะนั้น ถ้าคุณจะตัดสินใจขอสินเชื่อรถแลกเงิน ควรเลือกแบบไหนดี ระหว่างโอนเล่มหรือไม่โอนเล่น ซึ่งทั้ง 2 แบบนั้น ก็มีข้อดีและข้อเสียที่ต่างแตกกัน
สินเชื่อรถแลกเงิน แบบโอนเล่ม ผู้ขอสินเชื่อต้องนำทะเบียนรถยนต์ฉบับจริงมาโอนกรรมสิทธิ์ให้เป็นของผู้ให้บริการสินเชื่อ โดยที่มีค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าโอนเล่มสำนักงานขนส่ง ฯลฯ
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของผู้ปล่อยสินเชื่อ ดังนั้น สินเชื่อรถแลกเงินประเภทนี้ ผู้ขอสินเชื่อสามารถใช้งานรถยนต์ได้ตามปกติ และเมื่อทำการปิดสัญญาการกู้แล้ว จึงสามารถโอนกรรมสิทธิ์กลับมาเป็นชื่อของ
ผู้ขอสินเชื่อได้ทันที ข้อดีของสินเชื่อรถแลกเงิน แบบโอนเล่ม คือ มีโอกาสอนุมัติสูงกว่าแบบไม่โอนเล่ม และได้วงเงินสูง เนื่องจากชื่อในเล่มทะเบียนเป็นชื่อของบริษัทฯ ผู้ให้สินเชื่อได้รับอัตราดอกเบี้ยดีกว่า
สินเชื่อรถแลกเงินแบบไม่ต้องโอนเล่ม แต่ก็มีข้อเสีย คือ มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงกว่า เพราะมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่าโอนรถ ค่าอากร และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อีกด้วยที่ต้องนำมารวมเป็นค่าใช้จ่าย
ส่วนสินเชื่อรถแลกเงิน แบบไม่โอนเล่ม มีขั้นตอนที่ง่ายกว่าแบบโอนเล่มทะเบียน เนื่องจากสามารถนำเล่มทะเบียนรถยนต์มาฝากไว้ที่ผู้ให้บริการสินเชื่อ และทำหนังสือการโอนลอย เพื่อใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ
โดยที่ไม่ต้องโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ หากผู้ขอสินเชื่อกู้ผ่าน จะสามารถใช้รถยนต์ได้ปกติเหมือนเดิม โดยไม่จำเป็นต้องนำรถไปจอดไว้ที่ผู้ให้บริการสินเชื่อ ซึ่งมีข้อดี คือ
ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ยังเป็นชื่อของผู้ขอสินเชื่อ ไม่ต้องโอนไป-มา ระหว่างผู้ให้บริการสินเชื่อและตัวเจ้าของรถยนต์ แต่ถึงอย่างไรนั้นจะต้องนำเล่มไปไว้ที่ผู้ให้บริการสินเชื่อเก็บไว้ เพื่อไว้ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
ซึ่งจะได้รับอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ถ้าหากผู้ขอสินเชื่อต้องการปิดบัญชีก่อนกำหนด ผู้ให้บริการก็จะคิดดอกเบี้ยสิ้นสุด ณ วันที่ปิดบัญชี โดยไม่ต้องรวมกับดอกเบี้ยในปีที่เหลือ
และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนรถ ค่าอากร ให้ยุ่งยากสิ้นเปลือง และไม่ต้องชำระภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ในขณะเดียวกันมีข้อเสีย คือ อัตราดอกเบี้ยอาจจะสูงกว่าแบบโอนเล่ม แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่า
แต่ยอดผ่อนชำระรายเดือนจะไม่ถูกคิด VAT 7% ซึ่งได้วงเงินกู้ที่ได้รับน้อยกว่าแบบโอนเล่มทะเบียน เนื่องจากหลักประกันแตกต่างกัน และต้องมีประกันภัยรถ อย่างน้อยชั้น 3 ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของผู้ให้บริการสินเชื่อ
ดังนั้นแล้ว ในการขอสินเชื่อรถยนต์แลกเงิน แบบโอนเล่ม และไม่โอนเล่มนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ขอสินเชื่อรถแลกเงินด้วย หากผู้ขอต้องการใช้เงินด่วน ทาง CCAP แนะนำให้เลือกแบบไม่โอนเล่ม
ซึ่งมีการทำหนังสือสัญญาโอนลอยด้วย ทาง CCAP มีข้อเสนอแนะที่ดีกว่าผู้ให้บริการสินเชื่อสถาบันการเงินอื่นๆ คือ ให้บริการทำสัญญานอกสถานที่ตามลูกค้าสะดวก พร้อมอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ถูกกว่า
ไม่ต้องมีระยะเวลาในการครอบครองเล่มหลังจากผ่อนสินเชื่อรถยนต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่เสียค่าธรรมเนียมในการทำสัญญาอีกด้วย แต่ถ้าหากผู้ขอสินเชื่อไม่รีบใช้เงินสด แนะนำให้เลือกแบบโอนเล่ม ซึ่ง CCAP
มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อทางการเงินดีๆ มาแนะนำนอกจากให้วงเงินสูงแล้ว ไม่ต้องเตรียมเอกสารยุ่งยากมากมาย สามารถสมัครได้ทุกอาชีพ
Reference
https://www.ttbbank.com/th/fin-tips/detail/cash-your-car-nocar-registration-transfer